วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ, กาญจนบุรี


มีเนื้อที่ 343,750 ไร่ ประกาศเป็นเขตอุทยานฯ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2518 มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ
น้ำตกเอราวัณ

เป็นน้ำตกที่ใหญ่ และสวยงาม บนฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ น้ำตกเอราวัณมีความยาว 2,000 เมตร ทั้งหมด 7 ชั้น อยู่ห่างจากตัวเมือง 65 กม. ขึ้นไปบนเส้นทางสายกาญจนบุรี-ศรีสวัสดิ์ (ทางหลวงหมายเลข 3199) เมื่อถึงกม.ที่ 56 แยกซ้ายข้ามสะพานเข้าตลาดเขื่อนศรีนครินทร์ตรงไปอีกประมาณ 3 กม. ถึงลานจอดรถแล้วเดินต่อไปอีก 500 เมตร จะถึงน้ำตก สำหรับการเดินทางโดยรถประจำทาง มีรถออกจากสถานีขนส่งใกล้ที่ทำการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มายังตลาดเขื่อนศรีนครินทร์ทุกวัน ที่บริเวณน้ำตกเอราวัณมีบ้านพักของกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ไว้บริการนักท่องเที่ยวด้วย ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 579-0529, 579-4842

ถ้ำวังบาดาล

อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 54 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 323 ตรงหลัก กม.ที่ 63 เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 2 กม. ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ (วังบาดาล) แล้วเดินทางต่อไปอีก 1 กม. จะถึงปากถ้ำลักษณะของถ้ำวังบาดาล เช่น ถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ปากทางเข้าเป็นห้องเล็กๆ มีหลายห้อง ห้องชั้นล่างมีน้ำไหลผ่านและมีสัตว์น้ำอาศัยอยู่ด้วย เช่น ห้องม่านพระอินทร์ จะมีลักษณะหินย้อยลงมาคล้ายกับม่าน ห้องเข็มนารายณ์ มีลักษณะคล้ายเข็มแท่งใหญ๋ซึ่งวิจิตรงดงามมาก

ปราสาทเมืองสิงห์, กาญจนบุรี


อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อยทางทิศเหนือในเขตตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แวดล้อมด้วยทิวเขาเป็นแนวยาวอยู่โดยรอบ ลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลง กว้างประมาณ ๘๐๐ เมตร หมายถึงส่วนกว้างของเมือง ยาวประมาณ ๘๕๐ เมตร และกำแพงสูง ๗ เมตร มีประตูเข้าออก ๔ ด้าน มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ภายในเมืองมีสระน้ำ ๖ สระ

ปราสาทเมืองสิงห์ มีจุดมุ่งหมายสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธศาสนสถานในพุทธศาสนา นิกายมหายาน จากการขุดตกแต่งของกรมศิลปากรที่ค่อยทำค่อยไปตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๘ แต่มาเริ่มบุกเบิกกันจริงจังเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ แล้วเสร็จเป็นอุทยานประวัติศาสตร์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓0 จึงสวยงามดังที่เห็นอยู่ในวันนี้ ปราสาทเมืองสิงห์นี้กล่าวว่าสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรม คล้ายคลึงกับของสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๐ - ๑๗๘๐) กษัตริย์นักสร้างปราสาทแห่งขอม จากการขุดแต่งของกรมศิลปากร พบศิลปกรรมที่สำคัญยิ่งคือพระพุทธรูปนาคปรก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และ นางปรัชญาปารมิตา และยังพบรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีอีกองค์หนึ่ง รูปลักษณ์คล้ายกับที่พบในประเทศกัมพูชา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้นำไปเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แล้ว คงเหลือแต่องค์จำลองไว้จากศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา ซึ่งจารึกโดย พระวีรกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จารึกชื่อเมือง ๒๓ เมือง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างไว้ มีเมืองชื่อ ศรีชัยสิงห์บุรี ซึ่งสันนิษฐานกันว่าคือเมือง ปราสาทเมืองสิงห์ นี่เอง และยังมีชื่อของเมือง ละโวธยปุระ หรือ ละโว้ หรือลพบุรี ที่มีพระปรางค์สามยอด เป็นโบราณวัตถุร่วมสมัย

ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมืองสิงห์เป็นเมืองหน้าด่าน รัชกาลที่ ๔ โปรดให้เจ้าเมืองสิงห์เป็น พระสมิงสิงห์บุรินทร์ แต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล จึงยุบเมืองสิงห์เหลือแค่ตำบล

GMOs สิ่งมีชีวิตที่ตัดต่อพันธุกรรม : อนาคตที่คนไทยกำลังเผชิญ

การที่มนุษย์เรียกตัวเองว่าสิ่งมีชีวิตสปีชีส์หลัก ( Dominant Species) บนดาวเคราะห์ที่มีอายุกว่า 4500 ล้านปีนั้น อาจเป็นจริงเพียงชั่วยุคดึกดำบรรพ์ยุคนี้เท่านั้น เพราะโลกกำลังถูกทำลายโดยมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมก็กำลังเสื่อทรามลง โดยมนุษย์ เช่นกัน การที่เราพยายามเตือนสติผู้คนรอบข้างให้หันมาใส่ใจ ในการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์กับสิ่งแวดล้อม หรือการที่เราคำนึงถึง ลูกหลานในอนาคตจนต้อง บัญญัติศัพท์คำว่า " การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development ) " มาใช้นั้นอาจเพียงพอ ในกรณีที่สภาพทางเศรษกิจเเละสังคมของ ประชากรในประเทศนั้นๆอยู่ในขั้นปานกลางถึงดีมาก เเต่สำหรับประเทศด้อยพัฒนา หรือประเทศที่กำลังตกอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจ ถดถอย อาจเป็นสิ่งที่เลือนลางหรือเพ้อฝัน เพราะการเอาชีวิตตนเองให้รอดในแต่ละวัน ยังทำได้ลำบาก ดังนั้นปัจจัยสี่ที่ต้องแสวงหามาเพื่อพยุงชีวิต ตนเองให้อยู่รอดจึงเป็นความหวังสูงสุดของ ประชากรในนประเทศ เหล่านี้ การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมหรือการคำนึงถึงอนาคตตชนจึงถูกหลง ลืมและละเลยการปฏิบัติ เพราะประชากรในประเทศ ต่างๆเหล่านี้จัดลำดับความสำคัญ ของปัญหาสิ่งเเวดล้อมไว้ในลำดับท้ายสุด ทำให้ขาด ความสนใจในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม มลพิษสิ่งแวดล้อมก็จะย้อนกลับมาทำลายมนุษย์ ให้บอบช้ำลงไปกว่าเดิม และเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง ไว้รองรับการสูญพันธุ์ ของสิ่งมีชีวิต ในอนาคต

ปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญต่อมนุษย์มากที่สุดคือ อาหาร ซึ่งจัดเป็นสิ่งจำเป็นต่อการยังชีพ ( Mean of Subsistances ) ซึ่งอาจเพิ่ม ในรูปแบบอนุกรมเลขคณิต ( Arithmatic Progression ) ไล่หลังการเพิ่มปริมาณประชากรมนุษย์ก็จริง แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าทาง ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้มนุษย์สามารถพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ทางการเกษตร ให้เหมาะสม และสอดคล้องกับปัจัยทางกายภาพและชีวภาพ ที่คอยเกื้อหนุนระบบนิเวศจนสามารถเพิ่มผลผลิต ให้สามารถสนอง ตอบความต้องการของตลาดการค้าในแต่ละภูมิภาคของโลกได้ ยิ่งการเเข่งขันทางการค้าเสรีมากขึ้นเท่าใด นักวิทยาศาสตร์ ก็ยิ่งจะต้องใช้ความฉลาดของตนช่วยเหลือเกษตรกรมากขึ้นเท่านั้น

ประเทศที่มีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีชีวภาพสูง มักใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับยีน เพื่อช่วยในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมของ ประเทศนั้นๆให้เจริญขึ้นได้ ประเทศไทยถือได้ว่ามีขีดความสามารถ ทางด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับยีน ที่สามารถพัฒนา ไปจนสามารถเลือกใช้สิ่งที่ มีอยู่เเล้วในต่างประเทศมาใช้ประโยชน์เเละ สามารถขยายขีดความสามารถในหลายๆด้าน เพื่อช่วยพัฒนา งานทางการเกษตร แพทย์ และอุตสาหกรรม เทคโนโลยีเกี่ยวกับยีนทำให้มนุษย์สามารถปรับปรุงพันธุ์ สร้างพันธุ์สัตว์ พืช ตลอดจน จุลินทรีย์ใหม่ ๆ เพื่อผลิตชีวโมเลกุล ยา ฮอร์โมน โดยกระบวนการที่มีความแม่นยำ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เทคโนโลยีนี้ มาหา เอกลักษณ์ ของยีน ตัดสินสายพันธุ์เเละเชื้อสาย ของสิ่งมีชีวิตอีกด้วย เทคโนโลยีเกี่ยวกับยีนมีความสำคัญต่อการปรับปรุงพันธุ์พืช สำหรับประเทศเกษตรกรรมอย่างประเทศไทยเป็นอย่างมาก พืชที่ผลิตได้อาจมีผลผลิตมากขึ้น ทนศัตรูพืชได้ดีขึ้น แข็งเเรงขึ้น มีดอกที่ตลาดต้องการ หรือสามารถเติบโตในสภาวะที่มีความเครียดได้ ( ถิรพัฒน์ วิลัยทอง และคณะ , 2540 : 76-77 ) จากการ ที่เทคโนโลยี ทางชีวภาพมีความเจริญเพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น สิ่งมี ชีวิตตัดต่อสารพันธุกรรม พืชดัดแปลงพันธุ์ และอาหารดัดแปลงยีน ต่างก็เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ และส่งผลต่อมนุษย์ในหลายแง่มุม การพิจารณาใช้ ประโยชน์ จึงต้องรัดกุมและรู้เท่าทันเหตุการณ์ซึ่งจะส่งกระทบต่อตัวเองในอนาคต ปัจจุบันประเทศไทยกำลัง ประสบสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตตัดต่อสารพันธุกรรม ผู้บริโภคลังเลใจที่จะบริโภค การติดฉลาก GMOs ยังไม่มีมาตร การที่ชัดเจนจากผู้รับผิดชอบ หรือแม้แต่การตีกลับของสินค้า GMOs ที่ส่งไปขายยังต่างประเทศ ทั้งนี้ยังไม่รวมถึง ผลกระทบทาง นิเวศวิทยาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการ และการเสริมสร้างแนวคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับ GMOs จึงเป็น เรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนต้องทราบและหาเหตุผล เพื่ออธิบายให้ผู้บริโภคและประชาชนทุกคนได้รับรู้เพื่อเสริมสร้าง ประโยชน์ให้เกิด ขึ้นกับประเทศชาติสืบต่อไป